แนวทางการประเมินความเจ็บปวดในแมว

แมวเป็นสัตว์ที่แสดงความเจ็บปวดออกมาได้อย่างไม่ชัดเจน การสังเกตอาการจากการเต้นของหัวใจ (heart rate) ขนาดของม่านตา (pupil size) และอัตราการหายใจ (respiratory rate) อาจจะคล้ายคลึงในส่วนของความเครียด กลัว หรือ แม้แต่ความไม่พอใจของแมว ดังนั้นเป็นสาเหตุที่การประเมินความเจ็บปวดในแมว จำเป็นต้องดูจากพฤติกรรมและการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว โดยการสังเกตพฤติกรรมของแมวนั้นก็สามารถบ่งบอกถึงภาวะความเจ็บปวดในแมวได้ อาทิเช่น แมวไม่เลียขนแต่งตัว (grooming), มีพฤติกรรมใหม่ที่ต่างไปจากเดิม ดุมากขึ้น มีการซ่อนตัว หรือ หลบ ไม่ให้จับตัว และนอนมากขึ้น ในท่าทางที่ดูไม่สบายดูเหมือนเมื่อก่อน โดยที่การประเมินความเจ็บปวดในแมวนั้นมีความซับซ้อนและต่างจาก species อื่น การฝึกฝนโดยการสังเกตแมวที่ปกติและแมวที่มีอาการเจ็บปวดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์เลี้ยง นั้นจะช่วยให้การประเมินความเจ็บปวดของแมวนั้นง่ายขั้น [2,3]
ซึ่งการประเมินความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) นั่นจะประเมินจาก
1. Type of noxious stimuli โดยสามารถแบ่งได้เป็น visceral, somatic, orofacial, neuropathic, oncologic pain เพื่อเลือกใช้ยาในกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามประเภท ของความเจ็บปวด (แผนภาพที่ 1)
2. Expected duration of noxious stimuli เป็นการประเมินว่าหัตถการที่ทำนั้นจะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดแก่แมวมากน้อยแค่ไหน อาทิเช่น หากเป็นการสวนปัสสาวะจะมีความเจ็บปวดไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเป็น การผ่าตัดอาจต้องประเมินให้ยาแก้ปวดที่สามารถออกฤทธิ์ได้ 24 - 72 ชั่วโมง
3. Location of noxious stimuli โดยเป็นการคลำตรวจ ว่าเจ็บปวดบริเวณตำแหน่งใด อาทิเช่น pelvic limb, orofacial abdominal เป็นต้น
4. Location of patient during treatment โดยประเมินว่าระหว่างการให้ยาลดปวด สัตว๋ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล หรือ กลับบ้าน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเลือกบริหารยา (route of adminissation)
5. Sensitivity of noxious stimuli โดยประเมินความรุนแรงว่าเป็น mild, moderate, severe
ภาพที่ 1 แสดงประเภทของการปวดและกลุ่มยาที่เลือกใช้ในการเจ็บปวดแต่ละประเภท [3]
หรือใช้เป็น key concept ว่า TELLS เพื่อเป็นการประเมินยาที่จะเลือกใช้และระยะเวลา รวมถึงวิธีการบริหารยาเพื่อลดผลข้างเคียงไม่พึงจากการประเมินความเจ็บปวดที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจริงกับตัวสัตว์ (oligoanalgesia) ซึ่งจะทำให้เกิดการลดระดับเข้าถึง การปวดของระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย (reduce the nociceptive threshold central and peripheral sensitization) ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จาก neurophysiology เกิดเป็น persistant postoperative pain อาทิเช่น การที่แมวโดนถอดเล็บและยังไม่ยอมวางเท้าด้านที่เคยโดนถอดเล็บเพราะในช่วงระหว่างที่ทำการรักษา ไม่ได้มีการบริหารยาแก้ปวดแก่แมวอย่างเหมาะสม (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 แสดงแมวแสดงการเจ็บปวดหลังจากทำการถอดเล็บ แต่ยังคงแสดงอาการเจ็บปวดอยู่ [3]
การประเมินความเจ็บปวดในแมวสามารถทำได้โดยการสังเกตจาก พฤติกรรมการตอบสนองและการแสดงออกที่ใบหน้า โดยมีวิธีการประเมินที่ใช้ ดังนี้
1. Feline Grimace Scale
2. Glasgow Composite measure pain
3. UNESP Botucatu Multidimensional Composite pain
โดยแสดงรายละเอียดไว้ในตารางที่ 1 ถึงวิธีการใช้ และการประเมินรวมถึงเหมาะกับการประเมินความเจ็บปวดประเภทไหน และสามารถดาวโหลดแบบฟอร์ม รวมถึงรูปภาพแสดงตัวอย่างได้ในตาราง
แนวทางการประเมินความเจ็บปวดในแมว
UNESP-Botucatu multidimensional feline pain assessment scale short form (UFEPS-SF) Glasgow composite measure pain scale-feline (Glasgow CMPS-Feline) Glasgow composite measure pain scale-feline (Glasgow CMPS-Feline) Feline Grimace Scale
สิ่งที่ประเมิน 1. Pposture

2. Comfort

3. Activity

4. Attitude

5. Reaction to touching and palpation

1. Vocalization

2. Facial expression

3. Body movement

4. Response to palpation

5. Comfort

6. Response to activity

7. Response to food

8. Response to people

1. Ear position

2. Orbital tightenning

3. Muzzle

4. Whisker

5. Head position

วิธีการประเมิน จะเริ่มจากการสังเกตแมวจากนอกกรง โดยที่ยังไม่เปิดกรง โดยเริ่มสังเกตว่าแมวมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือไม่ ร้องหรือไม่ร้อง หลังจากนั้นจะทำการเปิดกรงและดูว่าแมวออกจากกรงทันที หรือลังเลที่จะออกจากรง หากพบว่ามีการลังเลที่จะออกจากกรง สามารถเรียกชื่อเพื่อดูดการตอบสนอง หากยังไม่ออกก็สามารถอุ้มออกจากกรงเพื่อมาสังเกตอาการด้านนอกกรง และประเมินว่าแมวมีการแสดงอารมณ์ออกมาอย่างไร เช่น มีความสุข ดุร้าย พร้อมต่อสู้ ส่งเสียงร้องเรียก เป็นต้น เมื่อแมวอยู่ด้านนอกกรงแล้วจึงทำการสังเกตว่าแมวมีการเคลื่อนไหวอย่างปกติและต่อเนื่อง หรือมีท่าทีปฏิเสธที่จะขยับตัว โดยสามารถใช้หากเพื่อล่อและดูการตอบสนองได้ จากนั้นจึงทำการจับบังคับแมวในท่านอนจะแคงหรือนอนหงายเพื่อทำการวัดความดัน จากนั้นทำการจับบริเวณรอบแผลโดยการใช้นิ้วลูบและดูการสนองต่อความเจ็บปวด และกดบริเวณรอบแผล จากนั้นให้หยุดพักและ จึงทำการสัมผัสที่บริเวณแผลเป็นสิ่งสุดท้าย การให้คะแนนคอนข้างหลากหลาย ในแต่ละการประเมิน จากทั้ง 8 อย่าง โดยจะประเมินจะเริ่มจากการประเมินจากนอกกรงโดยไม่สัมผัสตัวแมวรวมถึงการแสดงของใบหน้า และจากนั้นจึงประเมินส่วนที่เหลือที่ต้องสัมผัสกับแมวเป็นสิ่งสุดท้าย ประเมินจากใบหน้าโดยจะให้คะแนน 0 ถึง 2 โดย 0 คือ แสดงถึงไม่มีอาการ 1 คือ แสดงอาการเล็กน้อย และ 2 แสดงอาการชัดเจน และจะรวมผลเป็นคะแนนรวมในตอนท้าย
สามารถใช้ได้ในกรณี มีทั้งแบบสั้นและแบบยาวในการประเมิน เหมาะใช้ในการผ่าตัดทำหมันเพศเมีย สามารถใช้ในการประเมินความเจ็บปวดได้ในหลายกรณี เหมาะกับการประเมินความเจ็บปวด ระวังการประเมินหากมีการใช้ยา acepromazine-bupreneorphine และสามารถประเมินได้จากทั้งจากเจ้าของ พยาบาล นักเรียน และสัตวแพทย์เอง
คะแนน ≥ 4/12 ≥ 5/20 ≥ 4/10
ความเห็น การประเมินใช้เวลานาน และแบบสอบถามยาว ใช้งานง่ายและสะดวก ใช้งานง่ายและสะดวก
แหล่งที่มา Video-based training on feline acute pain and use of the scale is available in the Animal pain website newmetrica.com/acute-pain-measurment/dowload-pain-questionaire-for-cat felinegrimacesalce.com
ตารางที่ 1 แสดงตารางแสดงการประเมินความเจ็บปวดโดยวิธีต่าง ๆ [1;3]
ภาพที่ 3 แสดงถึงตัวอย่างและวิธีการประเมิน Feline Grimace Scale [3]
จะเห็นได้ว่าการประเมินความเจ็บปวดในแมววนั้นไม่ใช่เรื่องยากและสามารถทำได้ โดยมีวิธีการประเมินได้หลายวิธี สามารถให้เจ้าของช่วยประเมินความเจ็บปวดเองที่บ้าน หรือให้พยาบาลในโรงพยาบาลสัตว์ช่วยประเมินหากพบว่าแมวมีความเจ็บปวดที่เพิ่มมากกว่าขึ้นระหว่างการอยู่รักษาที่โรงพยาบาล นอกจากจะช่วยให้แมวปราศจากความเจ็บปวดแล้วยังช่วยลดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ จากการประเมินความเจ็บปวดที่ไม่สอดคล้องกัน ระหว่างความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจริงกับตัวแมว(oligoanalgesia ) ซึ่งจะทำให้เกิดการลดระดับเข้าถึง การปวดของระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย (reduce the nociceptive threshold central and peripheral sensitization) ทำให้เกิด อาการไม่พึงประสงค์จาก neurophysiology เกิดเป็น persistent postoperative pain หรือ maladaptive pain state รวมถึงทำให้เกิด agressive behaviour ซึ่งเป็นผลเสียระยะยาวต่อคุณภาพชีวิตของแมว นอกจากนั้นแล้ว การจัดการกับอารมณ์และความเครียดของแมว ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะในแมวที่กำลังมีภาวะความเจ็บปวด การมีสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ปลอดภัย มีที่ซ่อนตัว สามารถทำให้แมวสามารถลดความเครียดและมีประสบการณ์ที่ดีตลอดการอยู่โรงพยาบาล จะเห็นได้ว่าการจัดการภาวะความเจ็บปวดในแมวนั้นมีความสำคัญ [3]
เอกสารอ้างอิง
1. Belli M, de Oliveira AR, de Lima MT, Trindade PHE, Steagall PV, Luna SPL. Clinical validation of the short and long UNESP-Botucatu scales for feline pain assessment. PeerJ. 2021;9:e11225. Published 2021 Apr 12. doi:10.7717/peerj.11225
2. Jasani S. Feline Emergency and Critical Care Medicine. Journal of Feline Medicine and Surgery. 2011;13(8):626-626. doi:10.1016/j.jfms.2011.02.005
3. Steagall PV, Robertson S, Simon B, Warne LN, Shilo-Benjamini Y, Taylor S. 2022 ISFM Consensus Guidelines on the Management of Acute Pain in Cats. Journal of Feline Medicine and Surgery. 2022;24(1):4-30. doi:10.1177/1098612X211066268