เมื่อพูดถึงโรคทางผิวหนังในแมว หนึ่งในนั้นสัตวแพทย์หลาย ๆ คนคงนึกถึง การติดเชื้อราที่ผิวหนังของแมว เพราะเป็นโรคยอดฮิตที่พบได้บ่อยและใช้เวลารักษาระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น ยงกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เจ้าของมักจะเกิดคำถามกับหมอเสมอว่า ทำไมแมวของเขาจึงติด ทำไมจึงไม่หายสักที ทำไมจึงเป็นซ้ำได้อีก และทำยังไงถึงหายสนิท เพื่อให้สัตวแพทย์ทำการรักษาเชื้อราที่ผิวหนังของแมวได้อย่างถูกต้อง และส่งต่อคำแนะนำที่ถูกต้องให้กับเจ้าของ เรามาเริ่มทำความเข้าใจในบทความนี้กัน
หากพูดถึงเชื้อราในแมวนั้นจะมีหลายชนิดด้วยกัน รูปแบบในการก่อโรคจะมีความแตกต่างกันไป อันดับแรกเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อราในแมวมีทั้งแบบที่ติดเชื้อทั่วร่างกาย หรือที่เรียกว่า systemic infection และมีเชื้อราที่ก่อโรคเพียงเฉพาะบริเวณผิวหนัง หรือเรียกว่า dermatophytosis ทั้งนี้แมวที่ติดเชื้อราชนิดก่อโรคได้ทั่วร่างกาย อาจจะแสดงรอยโรคทางผิวหนังออกมาอย่างชัดเจนก็เป็นได้ สัตวแพทย์จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์พิจารณารอยโรคที่มองเห็น (external lesion) และอาการที่สัตว์แสดง (clinical sign) ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยถึงการติดเชื้อราที่แมวเป็น อย่างไรก็ตามเชื้อราที่ชนิดก่อโรคทั่วร่างกายในแมวที่สำคัญแสดงดังตาราง
โดยปกติแล้ว การติดชื้อราชนิดก่อโรคทั่วไปในร่างกายในแมวนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรง ระดับภูมิคุ้มกันของตัวสัตว์ เมื่อใดที่สัตว์มีปัจจัยโน้มนำที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ระดับภูมิคุ้มกับต่ำลง ทั้งความเครียด การเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ feline immunodeficiency virus (FIV) และ feline leukemia virus (FeLV) เป็นต้น การกินยากดภูมิคุ้มกัน ภาวะทุพโภชนาการ จะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย โดยจะรับเชื้อราได้จาก spore ที่ปนเปื้อนตามดินเป็นส่วนใหญ่ และจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งติดเชื้อราผ่านการกิน การหายใจ และการติดผ่านแผลที่ผิวหนัง การรักษาต้องใช้ระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามการติดชื้อราชนิดก่อโรคทั่วร่างกายในแมวนั้น พบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อชนิดก่อโรคที่ผิวหนังพบในบ่อยมากกว่า ซึ่งจะมีการแสดงอาการเพียงแค่ที่ผิวหนัง ไม่มีอาการทางระบบอื่นๆร่วมด้วยดังที่กล่าวมาข้างต้น
การติดเชื้อชนิดก่อโรคที่ผิวหนังในแมว หรือที่เรียกว่า dermatophytosis นั้น มีความสำคัญ เนื่องจากมีอุบัติการณ์การเกิดโรคค่อนข้างสูงสามารถส่งต่อไปยังสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นโรคคนสู่สัตว์ (zoonotic disease) อีกด้วย
Dermatophytosis นั้นเกิดจากเชื้อราที่ก่อโรคที่ผิวหนัง สามารถก่อพยาธิสภาพได้เฉพาะตำแหน่งที่มีการสร้างเคราติน(Keratin) เท่านั้น จึงถูกเรียกว่า Cutaneous mycoses ซึ่ง dermatophyte มีหลากหลายชนิดโดย Microsporum canis เป็นเชื้อราชนิดที่เจอได้บ่อยที่สุดในแมว โดยพบได้มากถึง 90% แมวแต่ช่วงอายุจะวัยต่อการติดเชื้อที่ต่างกัน ในแมวเด็กที่ภูมิต้านยังไม่พัฒนามากนัก จะติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าแมวโต ในแมวที่มีอายุมากมักจะเป็นแค่พาหะนำโรคเท่านั้น (carrier) แต่จะไม่ค่อยแสดงอาการทางคลินิก แมวโตที่มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน ก็จะง่ายต่อการติดเชื้อ หรือแมวโตที่ได้รับการดูแลที่ไม่ดี มีสุขลักษณะไม่เหมาะสม เลี้ยงหนาแน่น เช่นแมวที่ไม่มีเจ้าของที่ถูกเลี้ยงในสถานผักพิงต่างๆก็เป็นปัจจัยโน้มนำทำให้เกิดจากติดเชื้อได้ง่าย เพราะส่งผลถึงโอกาสการส่งเชื้อ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง ความเครียด และระดับภูมิคุ้มกัน
เชื้อรา ชนิด Microsporum canis คือเชื้อราในสกุล Microsporum มีลักษณะเป็นราสาย (hyphe) สร้างสปอร์มีลักษณะเป็นช่อที่เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) มีขนาดใหญ่ (macroconidia) และ ขนาดเล็ก (microconidia) ใช้ในการสืบพันธุ์และแพร่กระจายเชื้อ ก่อโรคที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) โดยเฉพาะส่วนบนสุด (stratum corneum) ผม ขนและเล็บมากที่สุด เพราะเชื้อราชนิดนี้ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในอุณหภูมิสูง ในผิวหนังชั้นลึก ทั้งนี้สามารถพบการติดเชื้อราได้ลึกถึงชั้นหนังแท้ (dermis) ได้ ส่วนมากจะมีแหล่งที่อยู่บนตัวสัตว์ ( zoophilic dermatophyte) หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมอาจเจริญเติบโตได้ไม่ดี เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตเล็กบนผิวหนัง(normal flora) แมวเลยก็ว่าได้ ในแมวโตที่ติดเชื้อรา ชนิด Microsporum canis แล้วไม่แสดงอาการนั้น สามารถตรวจพบเชื้อราชนิดได้โดยง่าย แต่การที่จะก่อโรคได้นั้น จะต้องผ่านชั้นบนของผิวหนังแมว ที่เป็นตัวกำบังการติดเชื้อไว้อยู่ ทุกครั้งที่ผิวหนังชั้นบนมีการผลัดเซลล์จะถือเป็นการเอาเชื้อราที่อยู่บนผิวหนังออกไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเชื้อราจะเพิ่มจำนวนด้วยสปอร์ที่เป็นตัวนำเชื้อราบางส่วนที่ไม่ถูกกำจัดไป ก็ยังส่งต่อไปยังต่ออื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นหากตัวกำบังหรือผิวหนังได้รับบาดเจ็บ มีแผล ผิวหนังไม่แข็งแรงผลจากการสารอาหารทั้งโปรตีนและขาดวิตามีนเอ ขาดความชุ่มชื้น หรือถูกรบกวนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น มีการติดเชื้อพยาธิภายนอก (ectoparasite) ทำให้ผิวหนังชั้นนอกถูกรบกวนจากการกัด การระคายเคืองของน้ำลายหมัด ทำให้เกิดรอยโรคอื่นๆทั้ง ผื่นแดง ตุ่มต่างๆ ยิ่งไปเพิ่มปัจจัยโน้มนำให้เกิดการติดเชื้อราได้ง่าย
หากพูดถึงกระบวนการการก่อโรค เมื่อแมวได้รับโคนิเดียขนาดเล็ก (microconidia) แล้วเกิดการติดเชื้อ เชื้อราจะใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ในการฟักตัวของเชื้อเพื่อก่อโรค หรือเรียกระยะนี้ว่า incubation period ช่วงนี้เชื้อราจะเริ่มจะเริ่มสร้างสายราบริเวณ hair shafts สร้างสปอร์ขึ้นมารอบ ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติต่อเส้นขน เมื่อขนยาวขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเกิดการแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณก่อโรค คือบริเวณผิวหนังชั้นบนสุด เมื่อเกิดการติดเชื้อรา และก่อโรคแล้ว สารต่างๆที่เกิดจากิจกรรมของเชื้อรา (metabolic products) เช่น การหลั่งเอนไซน์และสารสื่ออักเสบ หรือไซโตไคน์ ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ เกิดอาการและอาการแสดงคือ เกิดภาวะแดง (erythema),บวม (swelling), ร้อน (heat formation) การบวมแดงจากเอนไซม์และไซโตไคน์ยังส่งผลให้การแพร่กระจายของเชื้อราเคลื่อนที่ขยายวงจากจุดกลางหรือจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อลามออกไปด้านข้างและมีการสมานคืนของการติดเชื้อบริเวณกลางของผื่นหรือจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ (centralhealing) ทำให้ผื่นมีลักษณะเป็นวง (annular or ringed lesion)ที่มีลักษณะตรงกลางค่อนข้างปกติ ไม่บวม แดง (central clearingzone) มีลักษณะของรอยโรคคล้ายการเคลื่อนที่ของหนอน จึงเรียกลักษณะนี้ว่า ringworm
การติดเชื้อรา ชนิด Microsporum canis นั้น เมือแมวมีการติดเชื้อครั้งแรกแล้ว มีการติดเชื้อครั้งแรกจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันชนิด humoral immune response และมีการสร้าง antibody เพื่อต่อต้านการติดเชื้อได้ ทำให้การติดเชื้อครั้งที่สองมีโอกาสน้อย แต่ก็พบได้ เมื่อมีการติดเชื้อที่มีชนิดอื่น ๆ การรักษาในครั้งแรกไม่เหมาะสม หรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว หรือการได้รับปริมาณเชื้อราในปริมาณมาก การติดเชื้อราชนิดนี้เอง สามารถแบ่งออกได้หลายระดับตามความรุนแรงของรอยโรค ได้แก่
• Mild self-limiting infection ในระยะนี้จะมีการแสดงรอยโรคเพียงแค่ขนร่วงและ สะเก็ด (scale) ดังแสดงในรูป
• typical presentation of ringworm in cats ระยะนี้จะมีการแสดงรอยโรคเพียงขนร่วง regular and circular alopecia, hair breakage, erythematous margin , central healing. ดังแสดงในรูปภาพ
• small lesion ในระยะนี้จะมีขนาดรอยโรคเล็ก ๆ ขนาด diameter of 4–6 , มีลักษณะเป็นเดี่ยว หรือกลุ่มก็ได้ โดยมาจะพบรอยโรคบริเวณหัว ดังแสดงในรูปภาพ
• large lesion ในระยะนี้จะค่อนข้างรุนแรง โดยมักเริ่มเป็นบริเวณจมูก ใบหู และไปถึงรอบลำตัว และเมื่อรอยโรครุนแรงมากขึ้น จะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยจะพบลักษณะรอยโรค คือ large alopecic areas, erythema, pruritus, exudation ดังแสดงในรูปภาพหรืออาจจะพบรอยโรคลักษณะที่พบได้น้อย คือ nodular granulomatous , multiple cutaneous nodules, firm เป็นต้น
การวินิจฉัยการติดเชื้อรา ชนิด Microsporum canis
เมื่อพบว่าแมวมีลักษณะรอยโรคคล้ายกับการติดชื้อ Dermatophytosis สัตวแพทย์ก็จะทำการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการต่อไป เพื่อทำการรักษาได้ถูกต้อง ซึ่งจะแบ่งออกเป็นแบบ 2 รูปแบบ ดังนี้
1. วิธี Wood’s lamp examination : วิธีนี้คือการใช้ไฟชนิดพิเศษส่องเพื่อตรวจบริเวณรอยโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการเรืองแสงหากพบว่า มีการติดเชื้อราชนิด M. canis หากเป็นการติดเชื้อ dermatophyte ชนิดอื่น ๆ แต่จะไม่พบการเรืองแสง แบบนี้มีข้อดีคือไม่แพง ง่าย แต่ก็ตามมาด้วยข้อเสียคือ มีความแม่ยำแค่ 50% เพราะว่าหากบนผิวหนังแมวมี debris, scale, topical medications (e.g. tetracycline) ก็สามารถทำให้เรืองแสงได้เช่นกัน วิธีนี้จึงเรียกว่า screening test และนิยมเป็น final test
2. วิธี Direct microscopic examination : วิธีนี้คือการส่องเชื้อราโดยตรงจากรอยโรคภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยจะใช้การส่องโดยใช้สไลด์ร่วมกับ 10–20% potassium hydroxide solution เพื่อดู Hairs , hair fragments with hyphae and arthrospores ของเชื้อรา ทั้งนี้วิธีนี้ทำอาจทำให้การแปลผลผิดพลาดเป็น false positive ได้ เนื่องจากอาจแปลผล debris เป็น เชื้อราได้
3. วิธี Culture on Sabouraud dextrose agar : วิธีนี้เป็นการเก็บเชื้อราโดยตรงจากรอยโรค เป็นวิธีที่เป็น gold standard ยืนยันผลได้ ข้อเสียคือมีราคาสูงและใช้เวลานาน โดยใช้แปรงปัดบริเวณรอยโรค เพื่อให้เชื้อราและสปอร์ตกลงบนวุ้นเพาะเชื้อชนิด Sabouraud dextrose agar ซึ่งจะทำให้การติดเชื้อราชนิด M. canis ขึ้น ซึ่งจะทำให้จานเพาะชื้อราเปลี่ยนสีได้ จากนั้นจะนำเชื้อราทีขึ้นบนจานเพาะเชื้อราไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อยืนยันชนิดเชื้อราอีกครั้ง
4. วิธี Polymerase chain reaction : วิธีนี้เป็นการตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อราโดยตรง เป็นวิธีที่ยืนยันผลได้แม่นยำที่สุด แต่ในทางคลินิกอาจจะปฏิบัติได้ยาก
การรักษาการติดเชื้อรา ชนิด Microsporum canis
มาถึงส่วนสุดท้ายของ “ DERMATOPHYTOSIS IN CATS “ เมื่อสัตวแพทย์วินิจฉัยได้ว่าแมวติดเชื้อรา สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือการรักษา ในแมวที่มีสุภาพรางกายแข็งแรง สามารถหายได้เองใน 1-3 เดือน แต่ในช่วงเวลาที่ไม่ทำการรักษา แมวที่ป่วยมีโอกาสส่งต่อเชื้อให้กับแมวตัวอื่น และส่งต่อให้คนเป็นโรคสัตว์สู่คนได้ ทั้งนี้ได้แบ่งรูปแบบกรรักษาออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. แบบ topical treatment – มีการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ให้ผลค่อนข้างน้อย เพราะยาชนิดทา จะซึมผ่านผิวหนังแมวได้น้อย เนื่องจากแมวมีขน อีกทั้งการที่จะทายานั้นต้องหาได้ว่ารอยโรคอยู่ที่ไหน ในแมวมีขนที่ยาวทำให้อาจพลาดการมองเห็นของรอยโรคเล็ก ๆ ไปได้ จึงจำเป็นต้องโกนขนร่วมด้วย หืออาจะพิจารณาเป็นแชมพูยา ยกตัวอย่างยาในรูปแบบนี้ ได้แก่ 0.2% enilconazole , 2% miconazole with or without 2% chlorhexidine เป็นต้น
2. แบบ systemic treatment – วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลและมักใช้รวมกับวิธีแรก โดยต้องใช้เวลารักษา อย่างน้อย 2 เดือน จนกว่าจะเพาะเชื้อซ้ำ และไม่เจอเชื้อรา ยกตัวอย่างยาในรูปแบบนี้ ได้แก่ Itraconazole แต่อาจจะระวังการใช้ในแมวท้อง และลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 2 เดือน อย่างไรก็ตาม Itraconazole เป็นยารูปแบบนี้ที่ปลอดภัยมากกว่ายาตัวอื่น ได้แก่ Ketoconazole , Griseofulvin , Terbinafine เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว DERMATOPHYTOSIS IN CATS เป็นโรคที่เจอได้ค่อนข้างบ่อย และมีความสำคัญต่อการส่งต่อเชื้อ หากควบคุมเรื่องการเลี้ยงดูที่สะอาด ควบคุมสิ่งแวดล้อม ให้ลดการส่งต่อเชื้อได้ หากเจ้าของสังเกตเหนความผิดปกติ นำไปรักษาได้ทัน และสัตวแพทย์เลือกการวินิจฉัยและการรักษาที่ดี ก็เป็นโรคที่รักษาและจัดการได้ง่ายเช่นกัน
เอกสารอ้างอิง :
1. https://microbenotes.com/microsporum-spp/
2. http://vrd-sn.dld.go.th/webnew/images/stories/service/Brochure/year59/Y13No49.pdf