อาการ
แมวบางตัวอาจไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการไม่รุนแรง เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต, ไอแบบมีเสมหะ หายใจแรง ใช้ช่องท้องหายใจ มีเสียง end-respiratory crackles และจากการที่พยาธิอาศัยและไข่ไว้ในชั้นเยื่อบุของ alveoli, bronchiole และ bronchi ทำให้เกิด granulomatous reaction, fibrosis, emphysema อาจถึงขั้น pneumothorax ได้, มี hypertrophy และ hyperplasia ของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือดแดงในปอด อาจทำให้เกิด hypertension, pulmonary hemorrhage, lung consolidation และในระยะยาวจะพัฒนาเป็น Right-sided heart disease รายที่รุนแรงอาจมี pulmonary regurgitation ด้วย ดังนั้นหากแมวที่ตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจและมี regurgitation ควรตรวจสงสัยพยาธิในปอดด้วย และจากการเคลื่อนที่ของพยาธิจากลำไส้มายังปอด อาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น S. typhimurium, Pseudomonas spp., E. coli จนทำให้มี pleural effusion ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิด-จำนวนของพยาธิ ปริมาตรปอด-ขนาดทางเดินหายใจของสัตว์และระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ ในส่วนของระบบภูมิคุ้มกัน immune-mediated reaction type I, III, IV จะช่วยตัดวงจรชีวิตลดปริมาณพยาธิได้แต่ต้องใช้เวลาหลายเดือน ดังนั้นจะช่วยลดความรุนแรงระยะยาวได้แต่รอยโรคที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถหายได้
การวินิจฉัย
การตรวจจากตัวอย่างอุจจาระเพื่อดูตัวอ่อนระยะ L1 สามารถทำได้ 3 วิธี คือ 1. fresh fecal smear ควรใช้ตัวอย่างปริมาณเท่าเหรียญบาทและตรวจภายใน 3 ชั่วโมงเพื่อให้ยังสามารถเห็นตัวอ่อนเคลื่อนไหวได้ 2. fecal floatation เป็นการตรวจที่มีความไวต่ำและต้องระวังเรื่องความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อ L1 ได้ 3. Baermann migration method เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาพยาธิแต่มีข้อจำกัดคือ ต้องใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง และหากผลเป็นลบ ต้องทำซ้ำต่ออีก 3 ครั้งเพื่อยืนยัน อย่างไรก็ตามทั้ง 3 วิธีไม่สามารถตรวจในระยะ prepatent period ซึ่งกินระยะเวลานาน 1-2 เดือนได้และแม้จะเห็นตัว L1 ก็ไม่สามารถแยกชนิดพยาธิได้ เนื่องจาก L1 มีลักษณะคล้ายกันมาก ปัจจุบันมีการตรวจระดับโมเลกุลด้วยวิธี Nested-PCR จากตัวอย่างอุจจาระ, tracheal swabs/wash, BAL cytology วิธีนี้สามารถตรวจหาในระยะ prepatent period และตรวจแยกชนิดพยาธิได้เลย หรืออาจตรวจจากตัวอย่างเลือดเพื่อหา antibody โดยจะพบที่ 3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็น antibody จากที่เคยติดเชื้อหรือกำลังติดเชื้ออยู่ ส่วนผล CBC อาจพบเป็น leukocytosis, eosinophilia, lymphocytosis, coagulopathy จากภาพ x-ray จะพบปอดมีลักษณะเป็น alveolar pattern รองลงมาคือ bronchial และ interstitial lung pattern และมักพบ bronchial wall หนาตัว, มี pulmonary nodule, หลอดเลือด pulmonary artery ขยายตัวร่วมด้วย
การรักษา
การรักษาต้องกำจัดพยาธิควบคู่ไปกับการบรรเทาอาการ โดยยาที่ใช้กำจัดพยาธิปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ แบบกินและแบบหยดหลัง สำหรับแบบกินแนะนำให้ใช้ fenbendazole โดยมีขนาดและระยะเวลาในการรักษาที่ต่างกันตั้งแต่ 20 mg/kg นาน 5 วัน ถึง ขนาด 50 mg/kg นาน 15 วัน เช่น หากเป็น A. abstrusus ให้กินขนาด 25-50 mg/kg bid นาน 10-14 วัน หรืออาจใช้ Milbemycin oxime (4mg)+praziquantel (10mg) กิน 3 ครั้งห่างกัน 15 วัน หรือหากเป็นรูปแบบหยดหลัง ซึ่งส่วนมากจะรักษาได้เพียง A. abstrusus จะมีหลายตัวยาออกฤทธิ์ เช่น Imidacloprid 10%+moxidectin 1%, Emodepside 2.1%+praziquantel 8.6% ทั้งคู่มีประสิทธิภาพเท่ากับการให้ fenbendazole 3 วัน สำหรับ Imidacloprid+moxidectin ใช้เวลารักษา 14-21 วัน, Selamectin (6mg/kg) กำจัดพยาธิได้หมดใน 30-60 วัน ส่วนการรักษากรณีสงสัยแมวติดพยาธิ Troglostrongylus spp. ร่วมด้วย ควรใช้ Fipronil 8.3%+(S)-methoprene 10%+eprinomectin 0.4%+praziquantel 8.3% ที่ออกฤทธิ์ต่อทั้ง A. abstrusus และ Troglostrongylus spp. และมีประสิทธิภาพทั้งในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ ด้านการบรรเทาอาการมีแนวทางเช่นเดียวกับการรักษาโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะ broad-spectrum, ให้ corticosteroid ขนาดลดอักเสบ, กรณีที่มี pleural effusion หรือ pneumothorax ปริมาณมากควรเจาะออกและให้ออกซิเจน
การป้องกัน
แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการรายงานโรคพยาธิในปอดแมว แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีโรคนี้อยู่ในพื้นที่และการที่โรคพยาธิในปอดมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในปอด, toxoplasmosis, respiratory mycoses, feline bronchial disease/asthma, foreign bodies, pulmonary tumor รวมถึงส่วนใหญ่ตอบสนองกับ corticosteroid เช่นเดียวกัน จึงอาจทำให้มองข้ามโรคพยาธิในปอดและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมได้ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเริ่มจากการถ่ายพยาธิตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ หากสัตว์มีความเสี่ยงต่ำอาจเริ่มที่ 3 สัปดาห์ จากนั้นถ่ายทุกๆ 2 สัปดาห์ จนอายุ 10 สัปดาห์ แล้วจึงปรับเป็นโปรแกรมถ่ายพยาธิปกติ คือ ถ่ายทุก 1 เดือน หรือ ทุก 3-6 เดือน และถ่ายพยาธิในแม่แมวที่กำลังจะผสมหรือแมวท้องด้วย ด้านสิ่งแวดล้อมควรลดการสัมผัสกับสัตว์พาหะ เช่น การล่าหรือเล่นกบ กิ้งก่า งู นก หนู ไส้เดือน ร่วมกับการหยดยาที่มีฤทธิ์ป้องกัน ซึ่งในปัจจุบันมีตัวยาให้เลือกหลากหลาย ทั้งที่ออกฤทธิ์ต่อพยาธิในปอดทั้ง 2 ชนิดและออกฤทธิ์ครอบคลุมถึงพยาธิภายในและพยาธิภายนอกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Maria Grazia Pennisi et al. Lungworm disease in cats: ABCD guidelines on prevention and management. Journal of Feline Medicine and Surgery. 2015. 626-636
Donato Traversa and Angela Di Cesare. Diagnosis and Management of Lungworm Infections in Cats. Journal of Feline Medicine and Surgery. 2016. 7-20