Tick borne disease เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นในแมวได้
แม้ว่าแมวจะมีพฤติกรรมการเลียขน (grooming)
ตัวเองตลอดเวลาซึ่งส่งผลให้โอกาสในการเกิดโรคน้อยกว่าที่ควรจะเป็นก็ตาม
อย่างไรก็ตามในเวลา 24-48 ชั่วโมงก็มากพอที่สามารถทำให้แมวเกิดโรคขึ้นมาได้
บทความนี้จะพาคุณหมอไปรู้จักโรคจากเห็บสู่แมวที่พบได้ รวมถึงวินิจ
และการรักษาเพื่อสามารถวางแผนการจัดการได้อย่างเหมาะสม
1. Cytauxzoonosis
Cytauxzoonosis เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวเลือดขนาดเล็ก Cytauxzoon
felis โดยการติดเชื้อนี้สามารถได้มาจากเห็บ (tick) คือ Amblyomma
americanum และ Dermacentor variabilis ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
มักพบการติดเชื้อในช่วงเดือนมีนาคมถึงกันยายน หลังจากการมีการติดเชื้อ C.
felis จะพบอาการทางคลินิกใน 5-15 วัน (เฉลี่ย 10 วัน)
อาการทางคลินิก
Cytauxzoonosis มักก่อให้เกิดอาการแบบไม่เฉพาะเจาะจงและรวมไปถึงภาวะซึม
ไม่อยากอาหาร ไข้สูง เหงือกซีด ตัวเหลือง ขาดน้ำ
ตรวจร่างกายมีต่อมน้ำเหลืองโต ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจแสดงอาการสับสน
ชัก หรือ มีระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย หากไม่ได้รับการรักษา
แมวมักจะเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์หลังจากพัฒนาอาการทางคลินิก
การตรวจวินิจฉัย
หากทำ blood smear สามารถพบ Cytauxzoon piroplasms
ได้ในเซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocytes) โดยที่ลักษณะที่พบจะคล้ายคลึงกับ
B.felis และ Mycoplasma hemophilus ซึ่งสามารถวินิจฉัยแยกแยะได้โดยวิธี
PCR
การรักษา
Atovaquone (antimalarial drug) ในขนาด 15 มก/กก. ทุก 8 ชั่วโมง ร่วมกับ
azithromycin ในขนาด 10 มก/กก. ทุก 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน
ซึ่งการพยากรณ์โรคในระยะเฉียบพลันนั้นค่อนข้างแย่
2. Hemotropic Mycoplasmosis
เป็นภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยในคลินิกโดยแมวจะติดเชื้อ Mycloplasma
haemofelis โดยรายงานพบว่าสามารถติดจากเห็บและหมัด
อาการทางคลินิก
อาการไม่ได้เฉพาะเจาะจง มักพบมีการอ่อนแรง เหงือกซีด แห้งน้ำ มีไข้
และอาจพบภาวะม้ามโตได้ หากตรวจเลือดจะพบภาวะโลหิตจาง
การตรวจวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยโดยการทำ blood smears และย้อม Romanowsky-type strain
และวิธีการ PCR
ซึ่งในช่วงแรกของการติดเชื้อจะพบปริมาณเชื้อในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก
แต่ปริมาณเชื้อก็ค่อนข้างหลากหลายและให้ผลลบลวงได้ในกรณีของการตรวจ PCR
การรักษา
Doxycycline ที่ขนาด 5 มก/กก. วันละ 2 ครั้ง หรือ ขนาด 10 มก/กก. วันละ
1 ครั้ง ทุก 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 21 วัน
แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกได้หมดจากกระแสเลือด
3. Babesiosis
เห็บที่นำเชื้อ Babesia spp. สามารถติด B. vogeli และ B. gibsoni จากเห็บ
Rhipicephalus sanguineus ในขณะที่ B. canis และ B. rossi จะติดจาก
Dermacentor reticulatus และ Hemaphysalis leachi ตามลำดับ
แต่ในประเทศไทยยังไม่มีรายงาน ระบุว่าติด babesia จาก species ใด
อาการทางคลินิก
การติดเชื้อ babesia ในแมวนั้นมีอาการหลากหลาย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
นอกจากนั้นยังสามารถพบ อาการอาเจียน ท้องเสีย
โดยหากทำการตรวจเลือดจะพบคือมีภาวะโลหิตจางและมีการเพิ่มขึ้นของ
alanine transaminase (ALT) และมีภาวะ hyperbilirubinemia
การตรวจวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยโดยการทำ blood smears และย้อม Romanowsky-type strain
ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้ในรายที่พบจำนวนขอเชื้อในกระแสเลือดระดับปานกลางถึงสูง
หากน้อยมากอาจไม่พบ การตรวจทาง sereolgy
สามารถบอกว่ามีการติดเชื้อในอดีตหรือมีการติดเชื้อในปัจจุบันได้
แต่ในรายที่ติดเชื้อแบบเฉียบพลัน จะทำให้ผลเป็น false negative ได้
และควรทำร่วมกับการ ทำ polymerase chain reaction (PCR)
ซึ่งสามารถตรวจพบแม้มีปริมาณของเชื้อน้อย แต่ก็ยังสามารถเกิด flase
negative ได้
การรักษา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรค babesia ในแมวคือ primaquine phosphate ที่ขนาด
1 มก/กก. ทุก 36 ชั่วโมง เป็นจำนวน 4 ครั้ง และจากนั้นให้ยาทุก 1
สัปดาห์อีกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน นอกจากนั้น doxycycline
ที่ขนาด 5 มก/กก. วันละ 2 ครั้ง หรือ ขนาด 10 มก/กก. วันละ 1 ครั้ง ทุก
24 ชั่วโมง เป็นเวลา 28 วันนั้นให้ผลดีต่อการรักษาเช่นเเดียวกัน
โดยที่ยาทั้งสองชนิดไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจาแมวได้
โดยรายที่รุนแรงจะมีอาการ โลหิตจางอย่างรุนแรง ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
และอวัยวะเสียหาย (organ damage)
ซึ่งอาจต้องมีการรักษาโดยการทำถ่ายเลือดร่วมด้วย (blood tranfusion)
4. Anaplasmosis
Anaplasmosis มักพบการติดในแมวไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับสุนัข
เนื่องจากแมวมักจะมีการเลียขน (grooming) ตัวเองเป็นประจำ
แต่ในช่วงเวลาภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง ก็สามารถทำให้แมวติด A.
phagocytophilum จาก Ixodes scapularis หรือ Ixodes oacificus
โดยรู้จักในชื่อ feline granulocytotropic anaplasmosis หรือ
ehrlichiosis
อาการทางคลินิก
โดยอาการทางคลินิกที่พบค่อนข้างหลากหลาย อาทิ มีไข้ น้ำหนักลด อาเจียน
มีอาการเจ็บขา (polyarthritis)
การตรวจวินิจฉัย
สามารถใช้วิธีการ PCR เพื่อตรวจหาเชื้อ และ SNAP 4DX Plus (IDEXX
Laboratories) สามารถวินิจฉัย A. phagocytophilum antibodies
ในแมวได้แต่ยังไม่ได้รับการรับรอง
การรักษา
Doxycycline ที่ขนาด 5 มก/กก. วันละ 2 ครั้ง หรือ ขนาด 10 มก/กก. วันละ
1 ครั้ง ทุก 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 21 ถึง 30 วัน
จะเห็นได้ว่าเห็บเป็นพาหะให้เกิดโรคมากมายในแมว
การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันเห็บจึงมีความจำเป็นในแมวที่ความเสี่ยงสูงหรือแม้แต่แมวที่เลี้ยงในบ้านก็ตาม
ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคจากเห็บที่นำมาสู่แมว
และพัฒนาให้เกิดโรคขึ้นได้
ดังนั้นการป้องกันปริสิตจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ป้องกันปรสิตสำหรับแมวหลายชนิดที่มีความปลอดภัยสูง
ได้รับการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพดี และโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงต่ำ
ซึ่งการแนะนำให้เจ้าของใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอนับเป็นหนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพแมวที่สัตวแพทย์ควรแนะนำให้เจ้าของใช้เป็นประจำตามคำแนะนำข้างฉลากยา
โดยในปัจจุบันได้มีตัวยาหยดหลังสูตรผสม (combination drug)
สูตรใหม่ที่เพิ่งได้รับการเปิดตัวในประเทศไทยซึ่งเป็นยาหยดหลังสูตรผสมที่มีส่วนผสมของตัวยา
esafoxolaner, eprinomectin และ praziquantel
ซึ่งออกฤทธิ์ป้องกันเห็บในแมวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ในการป้องกันหมัดแมว ต้นเหตุของภาวะภูมิแพ้น้ำลายหมัด
รวมถึงไรหู ต้นเหตุของภาวะหูอักเสบ และไรขี้เรื้อน
ต้นเหตุของโรคผิวหนังในแมว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ครอบคลุมไปถึงพยาธิภายในหลายชนิด เช่น พยาธิหนอนหัวใจ
พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ และพยาธิตัวกลมได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์ควรแนะนำเจ้าของใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการป้องกัน
และแนะนำให้เจ้าของดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย
เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันที่ดีที่สุด
เอกสารอ้างอิง
1. Boehringer Ingelheim Animal Health USA Inc. 2023. NEXGARD COMBO-
esafoxolaner, eprinomectin, and praziquantel solution. [online].
Available :
https://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/fda/fdaDrugXsl.cfm?setid=48dd3eaa-18e3-430d-ad40-a964b591fb16&type=display#:~:text=NexGard%C2%AE%20COMBO%20kills%20adult,of%20age%20and%20older%2C%20and.
Accessed date : 2 February 2024.
2. Lappin, M. 2017. Cats and Ticks: What's the Big Deal?. [online].
Available :
https://www.vin.com/apputil/content/defaultadv1.aspx?pId=20539&catId=113447&id=8506432&ind=503&objTypeID=17.
Accessed date : 25 January 2024.
3. Lindsey, S. and Susan, L. 2012. Defeating Ticks: Practical Tips for
Preventing Tick-Borne Disease in Pets. [online]. Available :
https://todaysveterinarypractice.com/parasitology/practical-tips-for-preventing-tick-borne-disease-in-pets/.
Accessed date : 2 February 2024.
4. Yoko, N. and Mason, VR. 2015. Parasitology Expertise From the NCVP:
Feline Tick-Borne Diseases. [online]. Available :
https://todaysveterinarypractice.com/parasitology/parasitology-expertise-from-the-ncvp-parasitology-expertise-from-the-ncvp-feline-tick-borne-diseases/.
Accessed date : 2 February 2024.