Pimobendan คือยาอะไร ?
Pimobendan เป็นยาที่ช่วยเพิ่มความแรงในการบีบตัวของหัวใจและขยายหลอดเลือด
(inodilator) สำหรับการรักษาโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดจาก cardiomyopathy เช่น
dilated cardiomyopathy (DCM) และ กลุ่ม vulvular insufficiency เช่น
myxomatous mitral valve disease (MMVD)
Pimobendan ทำงานอย่างไร ?
ที่เราเรียก pimobendan ว่าเป็น “Inodilator”
เนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์ของยามีหลัก ๆ 2 อย่างคือ 1.
กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (positive inotrope) และ 2. ขยายหลอดเลือด
(vasodilator) กลไกหลักทั้งสองอย่างนี้ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น
โดยเฉพาะในสุนัขที่เป็นโรคหัวใจ
สำหรับการเป็น positive inotrope นั้น pimobendan จะออกฤทธิ์โดยตรงที่หัวใจ
โดยจะช่วยเพิ่มความแรงในการบีบตัวของหัวใจ
โดยการไปทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความไวต่อ calcium ion มากขึ้น
กล่าวคือทำหน้าที่เป็น calcium sensitizer ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจาก positive
inotrope ตัวอื่น ๆ จากการที่ pimobendan
จะทำให้หัวใจบีบตัวดีขึ้นโดยไม่อาศัยการใช้พลังงานหรือออกซิเจนเพิ่มขึ้น
เท่ากับหัวใจจะสามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ดีขึ้น บีบตัวได้ดีขึ้น
ทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น โดยที่หัวใจไม่ต้องใช้พลังงานมากกว่าเดิม
ในส่วนของการเป็น vasodilator ของ pimobendan นั้น เรียกได้ว่าเป็น
“Balance vasodilator”
เพราะตัวยาจะไปทำให้หลอดเลือดขยายทั้งหลอดเลือดดำและแดง
ทั้งในหัวใจและทั่วร่างกาย จากการที่ตัวยาเป็น PDEIII inhibitor
ซึ่งเมื่อหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจมีการขยาย
หัวใจจะบีบเลือดออกไปได้ง่ายขึ้น เท่ากับเป็นการลด afterload ของหัวใจ
และเมื่อหลอดเลือดดำที่เข้าสู่หัวใจมีการขยายจะทำให้แรงดันที่เข้าหัวใจต่ำลง
ซึ่งเท่ากับเป็นการลด preload ให้หัวใจ เท่ากับว่าเป็นตัวที่ช่วยลด
workload โดยภาพรวมให้กับหัวใจ
นอกจากฤทธิ์หลัก ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น pimobendan ยังมีฤทธิ์ลดอักเสบ เพิ่ม
sensitivity ของ baroreceptor และ ลดการเกิด platelete aggregation ด้วย
ประโยชน์ของการใช้ pimobendan คืออะไร ?
จากการศึกษา และรายงาน พบว่า สุนัขโรคหัวใจที่มีการใช้ pimobendan
จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
และมีอายุที่ยืนกว่าสุนัขป่วยโรคหัวใจที่ไม่ได้มีการใช้ยา ใน ACVIM
guideline สำหรับการจัดการ MMVD ในสุนัขมีการแนะนำให้ใช้ pimobendan
กับสุนัขที่เป็นโรคหัวใจใน stage B2 ขึ้นไป
เพื่อช่วยยืดระยะเวลาการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure,
CHF) และสำหรับสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว pimobendan
จะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดขนาดหัวใจที่โต ลด preload และ สามารถลด
Naturetic peptide concentration ได้
จาก EPIC (Evaluation of Pimobendan In dogs with Cardiomegaly) study
พบว่า สุนัขที่มีการใช้ pimobendan
มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสุนัขกลุ่มที่ไม่ได้รับยา
เนื่องจากสุนัขกลุ่มที่ได้รับยาจะได้ใช้ชีวิตโดยที่ไม่มีการแสดงอาการและภาวะหัวใจล้มเหลวได้นานกว่าสุนัขกลุ่มที่ไม่ได้รับยาถึง
15 เดือน ซึ่งคิดเป็น 10% ของอายุสุนัข
โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยอายุสุนัขพันธุ์กลางถึงเล็กเท่ากับ 12.5 ปี
จากการศึกษาของ VetSCOPE พบว่าสุนัขที่มีการใช้ pimobendan
มีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้น หายใจได้ดีขึ้น
ซึ่งเป็นอีกการศึกษาที่ยืนยันว่าการใช้ pimobendan
ทำให้คุณภาพชีวิตของสุนัขดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน
จาก PROTECT study พบว่าการใช้ pimobendan
สามารถช่วยชะลอการเริ่มแสดงอาการของโรคหัวใจ และช่วยยืดอายุของสุนัข
Dobermans ที่เป็น DCM ที่ยังไม่มีอาการแสดงทางคลินิก (preclinical DCM)
ได้
Pimobendan ใช้อย่างไร ?
Pimobendan สามารถใช้ร่วมกับยาหัวใจชนิดอื่น เช่น ACE-inhibtitor, diuresis
และ spironolactone ได้ ในส่วนของรูปแบบยานั้น pimobendan มียาในรูปแบบเม็ด
ขนาด 1.25, 2.5 และ 5 mg และในยุโรปมี 2.5 และ 5 mg ในรูปแบบ capsule
ขนาดยารูปแบบกินที่ให้ในสุนัขที่แนะนำอยู่ที่ 0.25 U+2013 0.3 mg/kg ทุก ๆ
12 ชั่วโมง
ยาจะดูดซึมได้ดีในสภาวะเป็นกรด ดังนั้นจึงแนะนำให้ทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง
เพื่อประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด ผลการออกฤทธิ์กับหัวใจ
จะออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้ยา และคงอยู่ประมาณ 8-12 ชั่วใมง
เจ้าของสามารถเริ่มเห็นว่าสุนัขอาการดีขึ้นอย่างสังเกตได้ภายใน 1
สัปดาห์ที่มีการใช้ยา
Pimobendan ใช้กับแมวได้หรือไม่
ยังไม่มีการแนะนำให้ใช้ยา positive inotrope ในแมวที่มีโรคหัวใจ
เนื่องจากโรคหัวใจที่แมวมักเป็นจะเป็นกลุ่ม hypertrophic cardiomyopathy
อย่างไรก็ตาม ในแมวที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจาก ภาวะ dilated
cardiomyopathy ยา pimobendan สามารถช่วยทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้นได้
และเพิ่ม survival time ได้คล้ายกันกับในสุนัข โดยจะใช้ร่วมกับยาตัวอื่น
เช่น furosemide อย่างไรก็ตามการใช้ยาข้างต้นยังไม่มีการรับรองโดย FDA
แต่จากรายงานที่มีการใช้ยา มีการใช้อยู่ที่ 1.25 mg/cat q12h PO (0.1
U+2013 0.3 mg/kg q12h) แมวเมื่อได้รับยาจะมีระดับยาในกระแสเลือดที่สูง
และยาจะคงอยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าในสุนัข แต่แมวจะไม่ตอบสนองต่อ
metabolites ที่ทำหน้าที่เป็น calcium sensitizer ได้ดีเท่าสุนัข
เอกสารอ้างอิง
- Papich, M. G. (2016). Saunders handbook of veterinary drugs. In :.
Elsevier.
- Keene, B. W., Atkins, C. E., Bonagura, J. D., Fox, P. R., Häggström,
J., Fuentes, V. L., ... & Uechi, M. (2019). ACVIM consensus guidelines
for the diagnosis and treatment of myxomatous mitral valve disease in
dogs. Journal of veterinary internal medicine, 33(3), 1127-1140.