“Speed of kill” ความรวดเร็วในการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดและปรสิตภายนอก

ปัญหายุง เห็บ และหมัด เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสุนัข แมว และผู้เลี้ยงมาอย่างยาวนาน นอกจากดูดเลือด สร้างความรำคาญให้กับสัตว์เลี้ยงและเจ้าของแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคหลักของหนอนพยาธิหัวใจและพยาธิเม็ดเลือดที่เป็นภัยเงียบ ซึ่งอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงถึงตายหากไม่ได้รับการรักษา การจัดการกับปัญหายุง เห็บ และหมัด อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมุ่งไปที่การตัดวงจรการเติบโตทั้งเชื้อและพาหะอย่างครอบคลุม ซึ่งทุกวันนี้มีผลิตภัณฑ์และยากำจัดเห็บหมัด ยุงและปรสิตภายนอกที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงอยู่มากมายหลายตัว
ดัชนีที่คุณหมอมักพิจารณาเมื่อต้องเลือกผลิตภัณฑ์และยากำจัดเห็บหมัดและปรสิตภายนอก ได้แก่ ประสิทธิภาพในการกำจัด วิธีการใช้ ความยาวนานในการออกฤทธิ์ ขอบเขตในการออกฤทธิ์ และเรื่องราคา ที่ต้องเหมาะสมกับสัตว์ทั้งทางสรีระและทางพฤติกรรม ลักษณะและบริบทของการเลี้ยงดู ความพึงพอใจของเจ้าของ และสิ่งแวดล้อมที่สัตว์เลี้ยงอยู่อาศัย ที่อาจสะท้อนต่อการติดเห็บหมัดหรือปรสิตภายนอกซ้ำ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือยาในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงในการกำจัดเห็บหรือหมัด โดยเฉพาะยากลุ่ม isoxazoline เช่น afoxolaner, fluralaner หรือ sarolaner โดยพบว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดเห็บหรือหมัดบนตัวสัตว์ได้มากกว่า 95% หลังจากกินยาเข้าไป
นอกเหนือจากดัชนีเหล่านี้แล้ว มีดัชนีอื่นอีก 2 - 3 ตัวที่อยากแนะนำให้คุณหมอพิจารณา ได้แก่ 1) ความเร็วในการกำจัด (speed of Kill หรือ rapid onset of action) 2) ฤทธิ์ที่ทำให้สลบหรือตายทันทีแบบน็อคดาวน์ (knock-down effect) และ 3) ความสามารถในการไล่ (repellent activity) ซึ่งดัชนีเหล่านี้มีประโยชน์โดยเฉพาะในพื้นที่ที่โรคหนอนพยาธิหัวใจและพยาธิในเม็ดเลือดเป็นโรคประจำถิ่น และคาดหวังผลของผลิตภัณฑ์หรือยาเพื่อป้องกันการติดต่อของพยาธิเหล่านี้โดยการไล่ยุง หรือป้องกันการติดเห็บหรือหมัดซ้ำ และหากกำจัดปรสิตภายนอกที่เป็นพาหะเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะลดโอกาสถ่ายทอดเชื้อให้แก่สัตว์ (Blocking transmission) ได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดโอกาสการเกิดผิวหนังอักเสบจากภาวะการแพ้น้ำลายของยุง เห็บ หรือหมัด เช่น กรณี Flea bite allergic dermatitis ได้อีกด้วย
ยุงหลายชนิดถ่ายทอดตัวอ่อนระยะ L3 ของพยาธิ Dirofilaria immitis หรือหนอนพยาธิ filaria อื่น ๆ เช่น Brugia ได้ทันทีหลังดูดเลือด ส่วนหมัด Ctenocephalides felis จะเริ่มดูดเลือดสุนัขอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาทีหลังจากขึ้นตัวสัตว์ (Cadiergues et al., 2000) ซึ่งสามารถถ่ายทอดเชื้อ Rickettsia spp. หรือ Bartonella sp. ได้ทันที ในขณะที่เห็บสุนัข Rhipicephalus sanguineus เป็นพวก slow blood-feeding acari หลังจากขึ้นตัวสัตว์ จะค่อย ๆ ฝังปากและดูดเลือด จึงต้องอาศัยระยะเวลาในการถ่ายทอดเชื้อนานกว่าพาหะชนิดอื่น ในประเทศไทย มีเชื้อโรคที่นำโดยเห็บที่สำคัญ ได้แก่ Babesia canis vogeli, Ehrlichia canis, Anaplasma platys และ Hepatozoon canis ระยะเวลาที่เริ่มส่งผ่านเชื้อจากร่างกายของแมลงพาหะสู่ตัวสัตว์ (transmission time) จะแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาตั้งแต่เห็บเริ่มสัมผัสและขึ้นบนตัวสัตว์ (attachment period) และระยะเวลาการดูดเลือด ซึ่งไปกระตุ้นการเจริญเปลี่ยนแปลงเป็นระยะติดเชื้อ เคลื่อนที่ไปที่ต่อมน้ำลายและส่งผ่านเชื้อสู่ตัวสัตว์ (Feeding & transmission period)( Schorderet-Weber et al., 2017) เช่น โปรโตซัวในเลือด Babesia ต้องใช้เวลาหลายวันประมาณ 36–72 ชั่วโมง เพื่อให้เชื้อเจริญเป็นระยะติดเชื้อ sporozoite ภายในต่อมน้ำลาย ก่อนที่จะส่งผ่านเชื้อมาทางน้ำลายเห็บได้ หรือริกเก็ตเซียในเลือดเช่น เชื้อ E. canis พบว่าสามารถถ่ายทอดจากเห็บ R. sanguineus ภายในระยะเวลาสั้นมากเพียง 3-8 ชั่วโมง
โดยทั่วไป การศึกษาหา Speed of kill จะได้จากการคำนวณประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หรือยาต่อเห็บหรือหมัดในกลุ่มที่ได้รับการรักษาในแต่ละช่วงเวลา เช่น 1, 2, 4, 6, 12, 24, 48 ชั่วโมง เทียบกับกลุ่มควบคุมลบที่ไม่ได้รับยา โดยทำการนับจำนวนเห็บหรือหมัดที่มีชีวิตบนตัวสัตว์ แล้วคำนวณตามสูตรของ Abbott ดังนี้ ประสิทธิภาพ (%) = 100 × (Mc-Mt)/Mc, โดย Mc หมายถึงค่าเฉลี่ยจำนวนเห็บหรือหมัดที่มีชีวิตในกลุ่มควบคุมลบ, Mt หมายถึงค่าเฉลี่ยจำนวนเห็บหรือหมัดที่มีชีวิตในกลุ่มการรักษา ส่วน Knock-down effect นั้น จะได้จากการคำนวนจำนวนแมลงที่สลบหรือตายหลังจากการใช้ยาในแต่ละช่วงเวลา เช่น ที่ 5 นาที หรือ 1 ชั่วโมง มักใช้กับหมัดหรือยุง เนื่องจากเห็บที่ตาย อาจฝังปากและอยู่บนตัวสุนัข ไม่ร่วงหล่นลงบนพื้นกรงทันที โดยสูตร Knock-down (%) = [1-(100-(nt-nc))/100] × 100, โดย nt หมายถึงค่าเฉลี่ยจำนวนหมัดหรือยุงที่ตายในสุนัขที่ได้รับการรักษา, nc หมายถึงค่าเฉลี่ยจำนวนหมัดหรือยุงที่ตายในสุนัขควบคุม โดยสังเกตจากยุงหรือหมัดที่นอนตายอยู่รอบ ๆ หรือถาดใต้กรงสุนัข
จาก Guideline ที่ออกโดย World Association for the Advancement of Veterinary Parasitology (W.A.A.V.P.; Marchiondo et al., 2013) และ European Medicines Evaluation Agency (EMEA) ระบุความเร็วในการฆ่าเห็บหรือหมัดว่า ควรมีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 90% ภายใน 48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงของระยะเวลาของการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเห็บหรือหมัดแล้ว ยิ่งผลิตภัณฑ์หรือยาที่เราเลือกใช้ มีประสิทธิภาพในการกำจัดสูง รวดเร็วและมีฤทธิ์ในการไล่มากขึ้นเพียงใด ก็จะช่วยลดโอกาสการถ่ายทอดเชื้อมากขึ้นเท่านั้น มีการศึกษาถึง speed of kill ของผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัด ทั้งในห้องปฏิบัติการและการศึกษาภาคสนามทางคลินิก (clinical field study) หลายชิ้น เช่น Fipronil ในรูปแบบหยอดหลัง ออกฤทธิ์ในการกำจัดหมัด C. felis และเห็บ R. sanguineus มากกว่า 95% ได้ที่เวลา 12-18 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงตามลำดับ (Brianti et al., 2010) หรือผลิตภัณฑ์หยอดหลังที่มีตัวยา Permethrin (6.76% w/v) ร่วมกับ Fipronil (50.48% w/v) มีความเร็วในการกำจัดเห็บ R. sanguineus ได้มากกว่า 90% ภายใน 6 ชั่วโมง หากมีการติดเห็บขึ้นหลังการให้ยาไป 2 วัน และประสิทธิภาพจะคงอยู่ยาวนานถึง 28 วัน (Beugnet et al., 2016) หรือยาในกลุ่ม isoxazoline มีความเร็วในการฆ่าเห็บ R. sanguineus มากกว่า 90% ที่ 8 ชั่วโมงในวันที่ได้รับยา (Burgio et al., 2016) ดังนั้นยาในกลุ่ม isoxazoline จึงให้ผลในการป้องกันการติด B. canis ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Beugnet et al., 2014, Taenzler et al., 2016, Geurden et al., 2017) แต่อาจไม่ดีพอที่จะป้องกันการติด E. canis
มีการรายงานผล Knock-down effect ของผลิตภัณฑ์ต่อหมัดและยุง ซึ่งส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของยาในกลุ่ม pyrethroid ได้แก่ permethrin, cypermethrin, fenvalerate, deltamethrin, and flumethrin ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ประสาทที่ cerebral ganglia ของแมลง ทำให้แมลง shock หยุดการเคลื่อนที่เหมือนสลบและร่วงลงพื้นอย่างรวดเร็ว (Beugnet & Franc, 2012) เช่น ผลิตภัณฑ์หยอดหลังที่มีตัวยา Permethrin (6.76% w/v) ร่วมกับ Fipronil (50.48% w/v) ให้ผล knock-down หมัด C. felis ด้วย โดยเริ่มพบการตายประมาณ 30% ภายใน 5 นาที และมากถึง 60% ที่ 1 ชั่วโมงหลังการให้ยา ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีความเร็วในการกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 93-98% ได้ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าการใช้ยา Fipronil อย่างเดียวที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงในการกำจัดหมัดได้ 99% (Beugnet et al., 2016; Halos et al., 2016)
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเห็บหรือหมัดด้วยผลิตภัณฑ์หรือยาหลายชนิด เช่น เชื้อ Bartonella henselae ผ่านหมัด C. felis ด้วย 10% imidacloprid-1% moxidectin (Bradbury and Lappin, 2010), พยาธิตัวตืด Dipilidium caninum ด้วยปลอกคอที่มีตัวยา imidacloprid (10%)/flumethrin (4.5%) (Fourie et al., 2013a), เชื้อโปรโตซัว Leishmania infantum ด้วยปลอกคอที่มีตัวยา imidacloprid (10%)/flumethrin (4.5%) (Brianti et al., 2014), เชื้อโปรโตซัว Babesia canis ด้วย afoxolaner และ fluralaner (Beugnet et al., 2014, Taenzler et al., 2016, Geurden et al., 2017) และผลิตภัณฑ์หยอดหลังที่มี Permethrin (6.76% w/v) ร่วมกับ Fipronil (50.48% w/v) (Jongejan et al., 2015; Navarro et al., 2015) นอกจากนี้ยังมีรายงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเชื้อริกเก็ตเซียและสไปโรขีต เช่น Ehrlichia canis ด้วยผลิตภัณฑ์หยอดหลังที่มี Permethrin (6.76% w/v) ร่วมกับ Fipronil (50.48% w/v) (Jongejan et al., 2015) หรือผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยา 50% permethrin และ 10 % imidacloprid (Jongejan et al., 2016) หรือเชื้อ Borrelia burgdorferi และ Anaplasma phagocytophilum ด้วย sarolaner (Honsberger et al., 2016) อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ ยังขาดหลักฐานที่มีการศึกษาภาคสนามเพื่อยืนยันประสิทธิภาพทางคลินิกจริง
โดยสรุป ภายใต้สภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาขายในท้องตลาดมากมาย การเลือกหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้แก่เจ้าของสัตว์จึงเป็นความยากและท้าทาย ไม่มียาตัวใดหรือสูตรการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับสุนัขทุกตัว คุณหมอจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลากหลายศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ทั้งลักษณะของตัวเชื้อ ตัวพาหะ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อและพาหะและตัวสัตว์ เภสัชศาสตร์ของยาแต่ละกลุ่ม ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการและการศึกษาภาคสนามทางคลินิก เพื่อการเลือกผลิตภัณฑ์หรือยาที่ตอบโจทย์ของปัญหาสุขภาพและความต้องการของเจ้าของสัตว์

เอกสารอ้างอิง

Beugnet F, Franc M. Insecticide and acaricide molecules and/or combinations to prevent pet infestation by ectoparasites. Trends Parasitol. 2012;28:267–79. doi:10.1016/j.pt.2012.04.004

Beugnet F, Halos L, Larsen D, Labuschagné M, Erasmus H, Fourie J. The ability of an oral formulation of afoxolaner to block the transmission of Babesia canis by Dermacentor reticulatus ticks to dogs. Parasit Vectors. 2014;7:283. doi:10.1186/1756-3305-7-283

Beugnet F, Halos L, Liebenberg J, Fourie J. Assessment of the prophylactic speed of kill of Frontline Tri-Act(®) against ticks (Ixodes ricinus and Rhipicephalus sanguineus) on dogs. Parasite. 2016;23:2. doi:10.1051/parasite/2016002

Beugnet F, Soll MD, Bouhsira E, Franc M. Sustained speed of kill and repellency of a novel combination of fipronil and permethrin against Ctenocephalides canis flea infestations in dogs. Parasit Vectors. 2015;8:52. doi: 10.1186/s13071-015-0680-1

Bradbury CA, Lappin MR. Evaluation of topical application of 10% imidacloprid-1% moxidectin to prevent Bartonella henselae transmission from cat fleas. J Am Vet Med Assoc. 2010;236(8):869-873. doi:10.2460/javma.236.8.869

Brianti E, Pennisi MG, Brucato G, et al. Efficacy of the fipronil 10%+(S)-methoprene 9% combination against Rhipicephalus sanguineus in naturally infested dogs: speed of kill, persistent efficacy on immature and adult stages and effect of water. Vet Parasitol. 2010;170(1-2):96-103. doi:10.1016/j.vetpar.2010.01.033

Brianti E, Gaglio G, Napoli E, et al. Efficacy of a slow-release imidacloprid (10%)/flumethrin (4.5%) collar for the prevention of canine leishmaniosis. Parasit Vectors. 2014;7:327. doi:10.1186/1756-3305-7-327

Burgio F, Meyer L, Armstrong R. A comparative laboratory trial evaluating the immediate efficacy of fluralaner, afoxolaner, sarolaner and imidacloprid + permethrin against adult Rhipicephalus sanguineus (sensu lato) ticks attached to dogs. Parasit Vectors. 2016;9(1):626. doi:10.1186/s13071-016-1900-z

Cadiergues MC, Hourcq P, Cantaloube B, Franc M. First bloodmeal of Ctenocephalides felis felis (Siphonaptera: Pulicidae) on cats: time to initiation and duration of feeding. J Med Entomol. 2000;37:634–6. doi: 10.1603/0022-2585-37.4.634.

EMEA. 2007. Guideline for the testing and evaluation of the efficacy of antiparasitic substances for the treatment and prevention of tick and flea infestation in dogs and cats. EMEA/CVMP/EWP/005/2000-Rev.2. http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_library/Scientific_guideline/2009/10/WC500004596.pdf

Fourie JJ, Crafford D, Horak IG, Stanneck D. Prophylactic treatment of flea-infested dogs with an imidacloprid / flumethrin collar (Seresto®, Bayer) to preempt infection with Dipylidium caninum. Parasitol Res. 2013;112 Suppl 1:33-46. doi:10.1007/s00436-013-3279-5

Geurden T, Six R, Becskei C, et al. Evaluation of the efficacy of sarolaner (Simparica®) in the prevention of babesiosis in dogs. Parasit Vectors. 2017;10(1):415. doi:10.1186/s13071-017-2358-3

Halos L, Fourie JJ, Fankhauser B, Beugnet F. Knock-down and speed of kill of a combination of fipronil and permethrin for the prevention of Ctenocephalides felis flea infestation in dogs. Parasit Vectors. 2016;9:57.doi:10.1186/s13071-016-1345-4

Honsberger NA, Six RH, Heinz TJ, Weber A, Mahabir SP, Berg TC. Efficacy of sarolaner in the prevention of Borrelia burgdorferi and Anaplasma phagocytophilum transmission from infected Ixodes scapularis to dogs. Vet Parasitol. 2016;222:67-72. doi:10.1016/j.vetpar.2016.02.010

Jongejan F, Crafford D, Erasmus H, Fourie JJ, Schunack B. Comparative efficacy of oral administrated afoxolaner (NexGard™) and fluralaner (Bravecto™) with topically applied permethrin/imidacloprid (Advantix(®)) against transmission of Ehrlichia canis by infected Rhipicephalus sanguineus ticks to dogs. Parasit Vectors. 2016;9(1):348. doi:10.1186/s13071-016-1636-9

Jongejan F, de Vos C, Fourie JJ, Beugnet F. A novel combination of fipronil and permethrin (Frontline Tri-Act®/Frontect®) reduces risk of transmission of Babesia canis by Dermacentor reticulatus and of Ehrlichia canis by Rhipicephalus sanguineus ticks to dogs. Parasit Vectors. 2015;8:602. doi:10.1186/s13071-015-1207-5Marchiondo AA, Holdsworth PA, Fourie LJ, Rugg D, Hellmann K, Snyder DE, et al. World Association for the Advancement of Veterinary Parasitology (W.A.A.V.P.) second edition: guidelines for evaluating the efficacy of parasiticides for the treatment, prevention and control of flea and tick infestations on dogs and cats. Vet Parasitol. 2013;194:84–97. doi: 10.1016/j.vetpar.2013.02.003.

Navarro C, Reymond N, Fourie J, Hellmann K, Bonneau S. 2015. Prevention of Babesia canis in dogs: efficacy of a fixed combination of permethrin and fipronil (Effitix®) using an experimental transmission blocking model with infected Dermacentor reticulatus ticks. Parasites and Vectors, 8, 32. doi: 10.1186/s13071-015-0645-4.

Schorderet-Weber S, Noack S, Selzer PM, Kaminsky R. Blocking transmission of vector-borne diseases. Int J Parasitol Drugs Drug Resist. 2017;7(1):90-109. doi:10.1016/j.ijpddr.2017.01.004

Taenzler J, Liebenberg J, Roepke RK, Heckeroth AR. Prevention of transmission of Babesia canis by Dermacentor reticulatus ticks to dogs after topical administration of fluralaner spot-on solution. Parasit Vectors. 2016;9(1):234. doi:10.1186/s13071-016-1481-x