- morphine ขนาดยา 0.1-0.2 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือการฉีดเข้าช่องชั้นเหนือดูรา (epidural) โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 6 ชั่วโมงสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ส่วนการฉีดเข้าช่องชั้นเหนือดูราสามารถอยู่ได้นานกว่า 12-24 ชั่วโมง ควรมีการดูแลอย่างใกล้ชิดหากฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เนื่องจาก morphine สามารถกระตุ้นการหลั่งของ histamine ได้
- hydromorphone ขนาดยา 0.025-0.1 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ประมาณ 6 ชั่วโมง
- meperidine หรือ pethidine ขนาดยา 5-10 mg/kg ทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 1-2 ชั่วโมง
- methadone ขนาดยา 0.2-0.6 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ให้ผ่านทางเนื้อเยื่อบุผิวช่องปาก โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 6 ชั่วโมง
- ลดโอกาสการที่สัตว์เลี้ยงจะถูกยุงกัดโดยหลีกเลี่ยงการให้สัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านในช่วงเวลาออกหากินของยุง
- fentanyl ขนาดยา 5 µg/kg ฉีดทางหลอดเลือดดำ (bolus) จากนั้นตามด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วยอัตราคงที่ (constant rate infusion) ด้วยอัตรา 3-20 µg/kg/h
- buprenorphine
- ขนาดยา 0.02-0.04 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ให้ผ่านทางเนื้อเยื่อบุผิวช่องปาก โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 8 ชั่วโมง
- ขนาดยา 0.24 mg/kg ทางการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 24 ชั่วโมง
- butorphanol ขนาดยา 0.2-0.4 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ 1-2 ชั่วโมง
ผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในกลุ่ม opioids ที่พบได้ คือ การคลื่นไส้ อาเจียน ซึม ม่านตาขยาย หัวใจเต้นช้า และ กดการหายใจร่วมกับการมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ควรสังเกตอาการหลังการให้ยาอย่างใกล้ชิด และรักษาตามอาการ
- meloxicam
- carprofen ขนาดยา 4 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เพียงครั้งเดียว
- ketoprofen
- robenacoxib
- tolfenamic acid
- ขนาดยา 0.3 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเพียงครั้งเดียว
- ขนาดยา 0.2 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เพียงครั้งเดียว จากนั้นสามารถตามด้วย ขนาดยา 0.05 mg/kg ทางการกิน ทุก 24 ชั่วโมง ติดต่อกันได้ 4 วัน
- ขนาดยา 0.1 mg/kg ทางการกินในวันแรก วันถัดมาปรับเป็นขนาดยา 0.05 mg/kg ทางการกิน ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ทานได้เป็นเวลานานติดต่อกัน
- ขนาดยา 2 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 3 วัน
- ขนาดยา 1 mg/kg ทางการกิน ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 5 วัน
- ขนาดยา 2 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 3 วัน
- ขนาดยา 1 mg/kg ทางการกิน ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 6 วัน
- ขนาดยา 4 mg/kg ทางการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 2 วัน หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในวันแรก วันถัดมาเป็นยากินในขนาดที่เท่ากัน
- ขนาดยา 4 mg/kg ทางการกิน ทุก 24 ชั่วโมง สามารถให้ได้นาน 3 วัน
- ยาในกลุ่ม alpha-2 agonists ตัวอย่างยา เช่น xylazine medetomidine dexmedetomidine นิยมใช้สำหรับการเตรียมตัวสัตว์ หรือ การจับบังคับ มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ และฤทธิ์ลดปวด แต่มักไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว มักเป็นยาหนึ่งในยาหลายตัวของการจัดการความปวด (multimodal) แต่ควรใช้ในแมวที่ไม่มีปัญหาภาวะของหัวใจและหลอดเลือด และยาต้านฤทธิ์ เช่น atipamezole ควรมีเตรียมไว้หากใช้ยาในกลุ่มนี้
- metamizole (dipyrone) มีฤทธิ์หลักคือ การลดไข้ นิยมใช้เป็นยาในระหว่างการผ่าตัดทำหมันในประเทศแถบอเมริกาใต้ ขนาดยาที่แนะนำในแมว คือ 25 mg/kg ทุก 24 ชั่วโมง หรือ 12.5 mg/kg ทุก 12 ชั่วโมง ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ทางการกิน จากการศึกษาพบว่า การให้ยาชนิดนี้เพียงชนิดเดียว ให้ผลควบคุมการปวดได้ไม่ดีนัก จึงมักต้องให้ร่วมกันกับยาในกลุ่มอื่นร่วมกัน ผลข้างเคียงที่พบได้ คือ การทำให้แมวมีน้ำลายหลั่งมาก (sialorrhoea)
- gabapentin ออกฤทธิ์โดยการเสริมวิถีการยับยั้งระบบประสาทขาลง (descending inhibitory pathway) เป็นยาที่มีค่าชีวประสิทธิผลสูงในแมว (90-95%) เมื่อได้รับยาขนาด 10 mg/kg ทางการกิน ระดับยาสูงสุดในเลือดใช้เวลา 45 นาที – 2 ชั่วโมง ค่าครึ่งชีวิตประมาณ 3-4 ชั่วโมง มีการศึกษาพบว่า การให้ gabapentin ร่วมกับ buprenorphine ในแมวที่ทำการผ่าตัดทำหมัน พบว่าสามารถควบคุมการปวดได้ไม่แตกต่างกับ การใช้ยา meloxicam ร่วมกับ buprenorphine นอกจากนี้ gabapentin ยังสามารถใช้ลดความเครียดของแมวระหว่างการจับบังคับ หรือ เคลื่อนย้ายสัตว์
- ketamine เป็นยาที่ไว้สงวนไว้ใช้หากเกิดอาการปวดระหว่างการผ่าตัด ขนาดที่แนะนำคือ 0.15-0.3 mg/kg ทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นขนาด loading dose จากนั้นตามด้วยอัตราคงที่ (constant rate infusion) ด้วยอัตรา 2-10 µg/kg/min
- tramadol มักใช้เป็นยาหนึ่งในยาหลายตัวเพื่อหวังผลในการลดปวด (multimodal) ในขนาดยา 4 mg/kg ทางการกิน ทุก 6 ชั่วใมง หรือ ขนาดยา 2-4 mg/kg ทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่อย่างไรก็ตามฤทธิ์การลดปวดของ tramadol ในแมวได้ผลไม่ดีนัก ทั้งยังมีความเสี่ยงจากความเป็นพิษจาก serotonin อาการได้แก่ กล้ามเนื้อสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีไข้ กระวนกระวาย เมื่อให้ร่วมกันกับยาในกลุ่ม serotonin inhibitors (fluoxetine และ trazodone) หรือ ยาในกลุ่ม monoamine oxidase inhibitors (selegiline) เนื่องจาก tramadol นอกจากมีฤทธิ์ลดปวดผ่านตัวรับ opioid (opioid receptor) แล้วยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเก็บกลับของ serotonin และ noradrenaline (serotonin and noradrenaline reuptake inhibitor action) ในระบบประสาทส่วนกลางด้วย
ยาอื่นๆที่นำมาเสริมยาลดการปวดในแมว ได้แก่
อ้างอิง
Gruen, M. E., Lascelles, B. D. X., Colleran, E., Gottlieb, A., Johnson, J., Lotsikas, P., ... & Wright, B. (2022). 2022 AAHA Pain Management Guidelines for Dogs and Cats. Journal of the American Animal Hospital Association, 58(2), 55-76.
Gunn-Moore, D. (2010). NSAIDs and Cats—it's been a Long Journey. Journal of feline medicine and surgery, 12(7), 519-519.
Steagall, P. V., Robertson, S., Simon, B., Warne, L. N., Shilo-Benjamini, Y., & Taylor, S. (2022). 2022 ISFM Consensus Guidelines on the Management of Acute Pain in Cats. Journal of Feline Medicine and Surgery, 24(1), 4-30.